สมาคมผู้รับทุนไจก้าขอเชิญสมาชิกและผู้สนใจ สมัครเข้าร่วมโครงการอบรมปฏิบัติการ เทคนิคการถ่ายภาพนิ่งและวิดีโอเทป“ ถ่ายอย่างไร …ให้ภาพพูดเอง ”วันเสาร์ที่ 25 มกราคม. 2557 ที่ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา ถ.ศรีอยุธยา เขตราชเทวี   กรุงเทพฯ. รับสมัครตั้งแต่วันนี้ จนถึง 20 มกราคม 2557

โครงการอบรมปฏิบัติการ เทคนิคการถ่ายภาพนิ่งและวิดีโอเทป
“ ถ่ายอย่างไร …ให้ภาพพูดเอง ”
วันเสาร์ที่ 25 มกราคม. 2557
ที่ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา ถ.ศรีอยุธยา เขตราชเทวี   กรุงเทพฯ.
ความเป็นมา

สมาคมผู้รับทุนไจก้า แห่งประเทศไทย (JICA ALUMNI Association of Thailand, JAAT)  เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร (Non-profit organization) ก่อตั้งขึ้น เมื่อ พ.ศ.2530 เป็นการรวมตัวของสมาชิกที่เคยได้รับทุนจากรัฐบาลญี่ปุ่น, เพื่อพัฒนางานทางด้าน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เศรษฐศาสตร์ และ วัฒนธรรมของประเทศ และเพื่อสนับสนุนให้ความร่วมมือกับองค์กร JICA เพื่อทำประโยชน์ให้สังคม และจัดกิจกรรมสืบสานความสัมพันธ์วัฒนธรรมของคนไทยและคนญี่ปุ่น ในโอกาสที่รัฐบาลญี่ปุ่นและไทย ได้ดำเนินโครงการพัฒนาทางวิชาการ ด้านเศรษฐกิจและสังคม (ODA ) มาเป็นเวลา 60 ปี  สมาคม ผู้รับทุนไจก้า แห่งประเทศไทย
        จึงเห็นสมควรจัดกิจกรรมทางวิชาการสำหรับสมาชิกสมาคมฯ และบุคคลทั่วไป เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ของไทยและญี่ปุ่นและประชาสัมพันธ์โครงการพัฒนา ฯ ดังกล่าว โดยจัดโครงการอบรมปฏิบัติการ “ ถ่ายอย่างไร …ให้ภาพพูดเอง ”  เทคนิคการถ่ายภาพให้มีความหมาย ทั้งภาพนิ่งและวิดีโอเทป ระดับพื้นฐาน เพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน และการปฏิบัติงาน

วัตถุประสงค์
  1. เพื่อจัดกิจกรรมบริการทางวิชาการแก่สมาชิกและบุคคลทั่วไป
  2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมปฏิบัติการ ได้พัฒนาเทคนิคการถ่ายภาพเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น
  3. เพื่อเปิดโอกาสให้สมาชิกและบุคคลทั่วไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมและประชาสัมพันธ์โครงการพัฒนาทางวิชาการของรัฐบาลญี่ปุ่นและไทย
การรับสมัคร 

 เปิดรับสมัครวันที่  6 – 20 มกราคม 2557 โดยส่งใบสมัครทางไปรษณีย์ที่ สมาคมผู้รับทุนไจก้าแห่งประเทศไทย ศูนย์บริการกำลังแรงงานและผู้ประกอบการ ชั้น 2 กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน  ถนนมิตรไมตรี  เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400 หรือ supattra65@hotmail.com หรือทางเว็บไซต์ www.jaat.or.th
โดยสมาคมจะแจ้งรายชื่อผู้เข้ารับการอบรม ในวันที่ 22 มกราคม 2557 ทาง e mail หรือที่  www.jaat.or.th

วัน เวลา และสถานที่ฝึกอบรม
  • วันเสาร์ที่ 25 มค. 2557 เวลา 8.30-16.00 น.
  • ณ ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา ( สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา, ETV )
    ห้อง 119 ชั้น 1 ติดโรงเรียนสันติราษฎร์ ถ.ศรีอยุธยา เขตราชเทวี   กรุงเทพฯ.
ผู้เข้ารับการอบรม

สมาชิกสมาคมผู้รับทุนไจก้า ฯ  นักศึกษาและบุคคลทั่วไป  จำนวน 30 คน

ค่าใช้จ่าย

ค่าลงทะเบียนการอบรม เอกสาร อาหารกลางวัน  อาหารว่าง คนละ 200 บาท
(จ่ายในวันที่เข้ารับการอบรม)

วิทยากร 

สมเจตน์  เมฆพายัพ,  สุพัฒตรา  ลิมปะพันธุ์

เนื้อหาการอบรมเทคนิคการถ่ายภาพ

ความสำคัญของภาพกับการผลิตรายการโทรทัศน์
    1 ขนาดภาพ (Picture size or Shot size)
    2 องค์ประกอบภาพ(Composition)
    3. มุมกล้อง(Camera angle)
    4 หน่วยนับภาพ (Field, Frame, Shot, Scene , Sequence)

วิธีการฝึกปฏิบัติอบรม

นำเสนอหลักการถ่ายภาพเบื้องต้น
ฝึกปฏิบัติถ่ายภาพตามหัวข้อที่กำหนด
นำเสนอผลงาน วิจารณ์ เสนอแนะ ถามและตอบข้อสงสัย

หมายเหตุ   ผู้เข้ารับการอบรมโปรดนำกล้องdigitalทั่วไป ที่ใช้งานอยู่ มาใช้ในการฝึกอบรมด้วย

ลงทะเบียนทางอินเตอร์เน็ต 

ดาวน์โหลดใบสมัครเพื่อสมัครทางไปรษณีย์

ประวัติและประสบการณ์วิทยากร

1.สมเจตน์  เมฆพายัพ

 นักวิชาการอิสระ อดีตนักวิชาการศึกษาระดับชำนาญการพิเศษ ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ปัจจุบันเป็นข้าราชการบำนาญ

ประวัติการทำงาน

        ผู้ผลิตรายการ ฝ่ายโทรทัศน์เพื่อการศึกษา ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา หัวหน้าศูนย์ผลิตรายการโทรทัศน์ฯ กระทรวงศึกษาธิการ, ผ่านการอบรมการผลิตรายการโทรทัศน์ โดยวิทยากรจาก สถานีโทรทัศน์ ช่อง 5 และกันตนา,ได้รับประกาศนียบัตร ด้านEducational TV Production ที่สถาบัน AIBD ประเทศมาเลเซีย,ประกาศนียบัตร Educational TV Production ที่ Algonquin College ประเทศแคนาดา

รางวัลที่เคยได้รับ

        รางวัลชนะเลิศ สื่อการศึกษาวิดีโอเทป ประเภทสารคดี เรื่อง “อาศรม” จาก NESSIM HABIF AWARD, UNESCO และ รางวัลคนดีศักดิ์ศรีแห่งสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

ผลงานที่เผยแพร่

  1. หนังสือ การผลิตรายการโทรทัศน์เบื้องต้น, เอกสารเผยแพร่ Powerpoint ไม่ยากอย่างที่คิด
  2. ผู้ร่วมผลิตชุดวิชา การผลิตรายการโทรทัศน์เบื้องต้น (16448) สาขาวิชานิเทศศาสตร์, มสธ.
  3. เขียนเว็บบล็อก gotoknow (การผลิตรายการโทรทัศน์เบื้องต้น)
  4. เขียนบทความในวารสาร จอแก้ว Magazine TV. สถานีวิทยุโทรทัศน์ ETV. กระทรวงศึกษาธิการ

งานพิเศษอื่นๆ

  1. เป็นวิทยากรให้การอบรมการผลิตรายการโทรทัศน์ให้แก่บุคลากร ทั้งหน่วยงานในและนอกสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นอาจารย์พิเศษสอนที่มหาวิทยาลัยราชมงคล ธัญบุรี และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  2. เป็นคณะทำงานและวิทยากรอบรมการผลิตสื่อการเรียนการสอน ประเทศลาว ระหว่างปี 2552 – 255
  3. เขียนบทความ และเป็นที่ปรึกษา นิตยสาร DMA (Digital Media Animation Television)

 ***********************


2.สุพัฒตรา ลิมปะพันธุ์

          นักวิชาการอิสระ อดีต ที่ปรึกษา(10) สำนักงานฯสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ การศึกษา และการอบรม ปริญญาโท เทคโนโลยีทางการศึกษา มศว.ประสานมิตร, ประกาศนียบัตรชั้นสูง ด้านTV Program Production, Training for Trainers, Human Rights Education, ICT Management, Planning & Management จาก Netherlands, Canada, Sweden, Japan และประกาศนียบัตร ผู้บริหารระดับสูง Public Law & Management จาก สถาบันพระปกเกล้า

การทำงาน

เป็นหัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา สถาบันราชภัฏจอมบึง, ผู้เชี่ยวชาญในประเทศโครงการ World Bank ,หัวหน้าส่วนผลิตรายการโทรทัศน์ ฯ สถานีโทรทัศน์ ETV, ผู้จัดการฝึกอบรมนานาชาติ ด้าน TV Production และสิทธิมนุษยชนศึกษา,กรรมการบริหารสมาคมสตรีนานาชาติผู้ผลิตรายการโทรทัศน์และวิทยุ, อุปนายกสมาคมผู้รับทุน JICA ผลงานและการเป็นวิทยากร ผลิตและเผยแพร่ชุดฝึกอบรม การผลิตรายการโทรทัศน์, ชุดการเรียน เรื่อง สิทธิมนุษยชนศึกษา, เทคนิคการเป็นผู้นำกระบวนการ (Training for facilitators.) การผลิตรายการโทรทัศน์ (TV & Video production) การถ่ายภาพ และภาษาอังกฤษ เพื่อการผลิตและเผยแพร่สื่อ

By admin