ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ ( Official Development Assistance หรือ ODA ) ประเทศญี่ปุ่นได้ดำเนินกิจกรรมในการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาในรูปแบบต่างๆ เช่น การให้สนับสนุนทางด้านการเงินและทางเทคนิคเพื่อส่งเสริมการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคม การให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยพิบัติต่างๆ ซึ่งเป็นการสนับสนุนที่มีรัฐบาลเป็นแกนนำสำคัญ โดยในปี พ.ศ. 2557 นี้ เป็นโอกาสครบรอบ 60 ปีของความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นและไทย 

การให้ความร่วมมือ คือ นโยบายหลักของ ODA

  1. ความร่วมมือทางวิชาการ : เป็นรูปแบบหนึ่งของความร่วมมือเพื่อให้การสนับสนุนในเรื่องของการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการสรรสร้างบุคลากรที่จำเป็นในการพัฒนาประเทศ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม สำหรับความร่วมมือในรูปแบบนี้ ได้มีการดำเนินโครงการในด้านต่างๆ เช่น การฝึกอบรม ซึ่งรัฐบาลญี่ปุ่น ได้ให้ทุนการศึกษา อบรมไจก้า กับบุคลากรของรัฐจำนวนหลายพันคน มาอย่างต่อเนื่อง มีการแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญและอาสาสมัคร การมอบอุปกรณ์ต่างๆเพื่อการศึกษาและพัฒนา ทั้งนี้ กิจกรรมต่างๆเหล่านี้ เป็นโครงการความร่วมมือทางทางวิชาการ ที่มีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคนิคที่เปี่ยมประสบการณ์ของญี่ปุ่นได้ถ่ายทอดความรู้นั้นสู่วิศวกร และผู้บริหารของประเทศกำลังพัฒนา โดยมีองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงาน
    ยกตัวอย่างเช่น
    • โครงการ วิจัยพัฒนาเทคโนโลยีการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ในภูมิภาคเขตร้อน (พ.ศ. 2552, คณะ วิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
    • โครงการพัฒนาวิธีการผังเมือง (พ.ศ. 2542, กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย)
    • โครงการจัดตั้งภาควิขาเวขศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ. 2509, ภาควิชาเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล) 
  2. ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจแบบให้เปล่าเพื่อพื้นฐานและความมั่นคงของมนุษย์ : เป็นโครงการร่วมมือทางการเงินที่ประเทศญี่ปุ่นให้แก่ NGO องค์กรส่วนท้องถิ่น สถาบันทางการแพทย์และการศึกษาในประเทศกำลังพัฒนา เพื่อนำไปใช้ในจุดประสงค์ขั้นพื้นฐานต่างๆ ความร่วมมือประเภทนี้จัดเป็นความร่วมมือแบบเร่งด่วน โดยมุ่งเน้นไปที่ระดับพื้นฐาน เช่นการก่อสร้างสาธารณูปโภค การจัดหาอุปกรณ์ต่างๆ ความช่วยเหลือในการรับมือกับภัยธรรมชาติเหล่านี้เป็นต้น
  3. ความร่วมมือทางการเงินแบบให้เปล่า: การช่วยเหลือทางด้านการเงินแก่ประเทศกำลังพัฒนาโดยไม่จำเป็นต้องชำระเงินคืนแก่รัฐบาลประเทศญี่ปุ่น สำหรับประเทศไทยนั้น รัฐบาลญี่ปุ่นได้ให้การสนับสนุนทางการเงินในสาขาต่างๆ เช่น ด้านการศึกษา สุขภาพ การฝึกอาชีพ การติดตั้งอุปกรณ์เพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม การชลประทาน เป็นต้น แต่เนื่องจากเศรษฐกิจของไทยได้เจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ความร่วมมือทางการเงินแบบให้เปล่าจากประเทศญี่ปุ่นจึงได้สิ้นสุดลงในปีพ.ศ. 2546
    ยกตัวอย่างเช่น
    • แผนการจัดตั้งศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมคนพิการแห่งเอเชียและแปซิฟิก (พ.ศ. 2546 / 2547, ศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมคนพิการแห่งเอเชียและแปซิฟิก)
    • มอบเครื่องตรวจการมองเห็นและการได้ยิน / เครื่องมือสำหรับวิจัยทางวิศวกรรม (พ.ศ. 2530 / 2533, คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
  4. ความร่วมมือในรูปแบบเงินกู้ : เป็นลักษณะการให้กู้ยืมเงินโดยมีเงื่อนไขที่ผ่อนปรน ในเรื่องของดอกเบี้ยขั้นต่ำและระยะเวลาการชำระคืนนานกว่า เงินกู้ที่จัดสรรให้แก่ประเทศไทยได้นำไปใช้ในด้านต่างๆ อาทิเช่น โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เช่น ถนน สะพาน และสนามบิน สิ่งแวดล้อม การศึกษาและการพัฒนาชนบท ซึ่งการให้กู้ยืมเงินนี้ ธนาคารเพื่อความร่วมมือ ระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น เป็นผู้ดำเนินการ รวมทั้งความช่วยเหลือแบบให้เปล่า
    ยกตัวอย่างเช่น
    • ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เพื่อการเผยแพร่ วัฒนธรรม ศิลปะท้องถิ่นของไทย และเผยแพร่วัฒนธรรม ศิลปะของต่างประเทศ
    • โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น คณะ วิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สายส่งไฟฟ้าใต้ดินในเขตกรุงเทพมหานคร
    • สถาบันวิจัยสาธารณสุขแห่งชาติ เป็นศูนย์กลางการค้นคว้าวิจัย ที่จำเป็นเพื่อการป้องกันโรคภัยโดยเฉพาะโรคติดต่อ
    • ศูนย์ส่งเสริมการเพาะชำกล้าไม้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ( 4 แห่ง) เพื่อให้เป็นฐานในการเพาะชำและจ่ายแจกกล้าไม้คุณภาพดี
    • ขยายสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ลาดกระบัง 
    • การสร้างศูนย์การศึกษา และสารสนเทศ ณ วิทยาลัยด้านวิศวกรรมศาสตร์ ที่มีชื่อของไทย จากการร่วมมือของญี่ปุ่นทำให้วิทยาลัยเฉพาะสาขา ได้พัฒนาขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยทางด้าน วิศวกรรมศาสตร์ชั้นนำของไทย
    • ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม จากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วของไทย ทำให้ต้องมีการวิจัยปัญหาสิ่งแวดล้อมและมลพิษ ที่เริ่มปรากฎให้เห็นได้อย่างชัดเจน พร้อมกับการดำเนินการ ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่เทคนิคด้วย
    • สะพานลอยบนถนนพระราม 4 ระยะทาง 1.6 ก.ม. เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจร ในย่านศูนย์กลางของกรุงเทพฯ เป็นสะพานข้ามทางแยกที่สำคัญถึง 3 ทางแยก 
    • โครงการขยายคณะวิศวกรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อจัดการปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้านวิศวกรรม และวิทยาศาสตร์ ญี่ปุ่นได้มอบเครื่องจักร และอุปกรณ์ เพื่อการศึกษาพร้อมทั้ง ให้ความร่วมมือด้านเทคโนโลยี เพื่อการขยายคณะวิศวกรรมศาสตร์ให้สมบูรณ์แบบ 
    • ศูนย์สารสนเทศสิทธิด้านอุตสาหกรรม เพื่อเป็นการส่งเสริมการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ด้วยการถ่ายทอดเทคโนโลยีเกี่ยวกับระบบ ลิขสิทธิ์ด้านอุตสาหกรรม

ข้อมูลอ้างอิง

  • แผนที่โครงการ ODA ในเขตกรุงเทพมหานคร (พ.ศ.2555)
  • วารสารความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาระหว่างประเทศญี่ปุ่นกับประเทศไทย\

By admin